วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเจริญเติบโตของพืช


การศึกษาการเจริญเติบโตของพืช
ภารกิจ: ตามติดชีวิตถั่ว (เขียว) น้อย

           เนื้อหาใน Blogger  นี้  เป็นส่วนหนึ่งของวิชา  ชีววิทยาเพิ่มเติม  (ว32243) ในเรื่อง โครงสร้างและหน้าที่่ของพืชดอก  โดยเนื้อหาใน Blogger นี้ จะติดตามการเจริญเติบโตจากลักษณะภายนอกของต้นถั่วเขียวตั้งแต่เป็นเมล็ด  ซึ่งในการที่จะติดตามตั้งแต่ปลูกเป็นเมล็ดจนต้นถั่วสามารถออกฝักได้ต้องใช้ระยะเวลานานนับเดือน  จึงขออนุญาตนำเสนอภาพของต้นถั่วเขียวที่เจริญเต็มวัยแล้วมาสอดแทรกในเนื้อหา แต่เป็นภาพที่ได้จาก ต้นถั่วที่ปลูกเองจริง ไม่ได้คัดลอกมาจากที่ใดและขอชี้แจงว่า แต่ละต้นไม่ได้ปลูกในวันและเวลาเดียวกัน แต่มีระยะเวลาไล่เลี่ย ห่างกันแค่ 1วัน 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียวจากลักษณะภายนอกที่สามารถสังเกตได้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 
ข้อมูลทั่วไป

ถั่วเขียว :: เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ให้เมล็ดที่มีเปลือกสีเขียว แต่ เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตของถั่วเขียวมันสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสพภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วย บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะถั่วงอกและประกอบอาหารอื่นๆ ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ (http://th.wikipedia.org)




พฤกษศาสตร์ทั่วไป
วงศ์ (Family): Papilionaceae
จีนัส (Genus): Vigna
สปีชีส์ (Species): radiata
ชื่อสามัญ (Common name): ถั่วเขียวผิวมัน (mungbean, green gram) และ ถั่วเขียวผิวดำ (black gram)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): ถั่วเขียวผิวมัน (Vigna radiata (L) Wilczek) และ ถั่วเขียวผิวดำ (Vigna mungo (L) Hepper)


ราก
ถั่วเขียวมีระบบรากแบบรากแก้ว (tap root system) และมีรากแขนงมาก (secondary root หรือ lateral root)มาย รากแก้วหยั่งลึกแต่รากแขนงจะแตกออกจากส่วนบนใกล้ ๆ ผิวดิน ที่รากจะเป็นที่อาศัยของแบคทีเรีย Rhizobium sp.

ลำต้น
ลำต้นของถั่วเขียวพันธุ์เพาะปลูกเป็นพวกตั้งตรง ไม่ใช่เป็นเถาเลื้อย ต้นเป็นพุ่ม มีความสูงจากระดับดินถึงยอดของลำต้น 50-120 เซนติเมตร ปกติมีการแตกกิ่งก้านมากมายคืออาจมีกิ่งตั้งแต่ 3 ถึง 15 กิ่ง ทั้งนี้แล้วแต่ระยะปลูกและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าปลูกห่างก็มีจำนวนกิ่งมาก ลำต้นมีสีเขียวมีขนเป็นจำนวนมาก

ใบ
ใบของถั่วเขียวเกิดเป็นกลุ่มที่เรียกว่าใบรวม (compound leaves) มีกลุ่มละ 3 ใบ (trifoliate leaves) ใบเกิดสลับกันบนลำต้น มีก้านใบรวม (petiole) ยาว ตรงโคนก้านใบรวมมีหูใบ (stipule) รูปไข่จำนวน 2 ใบ ใบย่อย (leaflet) ของถั่วเขียวจำนวน 3 ใบนั้น ใบกลางมีก้านใบ (petiolule) ยาว ที่ฐานของใบย่อยแต่ละใบมีหูใบย่อย (stipel) ใบละ 1 คู่ ใบของถั่วเขียวมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวจัด มีรูปไข่ (ovate) คือกว้างป้อมปลายเรียวเล็กน้อย ขนาดของใบกว้าง-ยาวราว 1.2-12 + 2-10 เซนติเมตร ตามก้านใบและบนใบมีขนสีขาวมากมาย

ช่อดอกและดอก
ดอกของถั่วเขียวเป็นดอกที่เกิดเป็นกลุ่ม (inflorescence) มีช่อดอกแบบ raceme เกิดจากตาระหว่างก้านใบและลำต้นหรือกิ่ง (axillary bud) กลุ่มละ 5-10 ดอก และเกิดที่ยอดของลำต้นหรือยอดของกิ่งที่ยอดของลำต้นอาจมี 10-20 ดอก ก้านของช่อดอก (peduncle) ยาวราว 2-13 เซนติเมตร มีกลีบรอง (calyx) กลีบดอกมีสีเหลืองอมเขียวเป็นดอกแบบผีเสื้อมี standard 1 กลีบ wing และ keel อย่างละ 2 กลีบ standard ซึ่งเป็นกลีบที่โตที่สุดของดอก มีความกว้าง 1-1.7 เซนติเมตร ภายในกลีบดอกจะมีดอกตัวผู้ (stamen) 10 อัน จับกันแบบ diadelphous (9:1) เป็นกระเปาะห่อหุ้มดอกตัวเมีย (pistil)

ผลและเมล็ด
ฝักของถั่วเขียวมีสีเขียว เมื่อแก่ถึงเก็บเกี่ยวได้ มีสีเทาดำหรือน้ำตาล ฝักยาว 5-10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของฝัก 0.4-0.6 เซนติเมตร ลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม มีขนสั้นทั่วไปบนฝัก แต่ละฝักมีเมล็ด 5-15 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็ก เมล็ดกลมหรือค่อนข้างกลม โดยทั่วไปมีสีเขียว แต่เมล็ดถั่วเขียวอาจมีสีอื่น ๆ ก็ได้แล้วแต่พันธุ์ เช่น สีเหลืองทอง เหลืองอมเขียวหรือสีดำ ขนาดของเมล็ดถั่วเขียวถ้าวัดเป็นน้ำหนักแล้วจะหนักราว 4-8 กรัม/100 เมล็ด
ถั่วเขียวเป็นพืชผสมตัวเอง (self-pollinated) ละอองเกสรจะโปรยเวลา 21.00-03.00 น. และดอกที่ผสมแล้วจะบานในวันรุ่งขึ้น และกลีบดอกของดอกนั้นจะเหี่ยวลงในตอนเย็นของวันเดียวกัน ในระยะออกดอกถ้ามีฝนอัตราการผสมติดจนมีเมล็ดจะต่ำมาก
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
1.เริ่มจากการนำเมล็ดถั่วเขียวมาแช่น้ำทิ้งไว้ 8-12 ชม.หรือ 1 คืน ซึ่งถั่วบางเมล็ดอาจจะมีรากงอกออกมา





2.หลังจากนั้นจะมีรากงอกออกมาก่อนส่วนอื่น เรียกว่า รากปฐมภูมิ(primary root) หรือ รากแก้ว(tap root) โผล่ออกมาจาก ไมโครไพล์ (micropyle) ซึ่งอยู่เหนือ ขั้วเมล็ด(hilum)หรือตาแผลของเมล็ด



3. ต่อมาความยาวของรากจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะมีขนราก (root hair) ในเวลาต่อมา





4.ช่วง 1-3วันต่อมา จะมีการเพิ่มความยาวรากอย่างเห็นได้ชัด และมีรากแขนง(lateral root หรือ secondary root)ออกมา งอกออกมาจากรากแก้ว มีใบ1คู่ออกมาจากเมล็ด ดังภาพ



5. ความยาวของรากจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนรากแขนงก็จะงอกออกมาเพิ่มมากขึ้น ใบก็จะยาวโผล่ออกมาจากเมล็ดมากขึ้นเรื่อยๆ





6. ต้นถั่วเขียวจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ ใบคู่แรกที่โผล่พ้นเมล็ด จากที่อยู่ติดกัน จะเริ่มแยกออกจากกันเรื่อยๆ ดังภาพ โดยในช่วงนี้ต้นถั่วเขียวควรได้รับแสงแดดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 







        ช่วงลำต้นของต้นถั่วเขียวจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต้องระวังในเรื่องของการหักของลำต้น ควรนำต้นถั่วเขียวไปลงดิน เพราะการปลูกบนกระดาษเยื่อนั้น ไม่ได้ให้แร่ธาตุและสารอาหารแก่พืช ทำให้ต้นไม่แข็งแรง และอาจทำให้ตายได้   ต้นถั่วเขียวจะทิ้งช่วงการเพิ่มจำนวนใบไว้สักระยะซึ่งขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแร่ธาตุและสารอาหาร



       
ต้นถั่วเขียวเมื่อเจริญเต็มวัย   มีลักษณะภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ ดังนี้



ใบของต้นถั่วเขียว







      ลำต้นของต้นถั่วเขียว











รากของต้นถั่วเขียว








ฝักอ่อนถั่วเขียว














จัดทำโดย
                                                   
                                                   นาย ศิรวิทย์           มีญาณเยี่ยม        เลขที่ 7
                                                   น.ส. กนกกาญจน์    ผอบทิพย์           เลขที่ 26
                                                   น.ส. กนกอร          พงษ์ประสิทธิ์       เลขที่ 27
                                                   น.ส. ณัฐริกา          เลาวนาบริบูรณ์     เลขที่ 32
                                                   น.ส. ศุภจิต            แซ่หว่อง            เลขที่ 35

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2

เสนอ

คุณครู อุทัยวัน โพธิศิริ

สื่อนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  (ว32243)
โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม